วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งพระนาม "สิริกิติ์" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร" พระราชสมภพเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชประสงค์จะผนวชเป็นพระภิกษุ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวชและทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเฉลิมพระนามาภิไธยว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ดังปรากฏเนื้อความในประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยว่า “...โดยที่ทรงพระราชดำริด้วยพระราชหฤทัยประกอบด้วยพระกตัญญูกตเวทิตา ระลึกถึงพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนี อันได้มีมาเป็นล้นพ้นยิ่งกว่าผู้อื่น และทรงพระราชดำริว่า พระบรมราชชนนีเป็นผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันได้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองและพสกนิกรเป็นอเนกปริยาย มีพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาธิคุณ เสด็จออกสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎรทั่วทุกแห่งหนแม้ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ด้วยพระวิริยอุตสาหะอย่างยิ่งยวด โดยทรงดำเนินพระราชจริยวัตรด้วยพระราชปณิธานแห่งธรรมราชินี ในศุภสมัยอันเป็นมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ สมควรจะเฉลิมพระเกียรติยศสนองพระคุณตามโบราณราชประเพณี อันจะอำนวยสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแด่พระองค์ และสยามรัฐสีมาอาณาจักร จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมราชชนนี ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง...”
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ศิลปาชีพ
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ทรงริเริ่มก่อตั้งโครงการหลวงต่างๆ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงริเริ่มโครงการให้ราษฎรโดยเฉพาะชาวนาในท้องถิ่นชนบททำอาชีพเสริมโดยใช้เวลาว่างจากการทำนาทำไร่มาทำงานศิลปาชีพ จนราษฎรเหล่านั้นมีความรู้ความสามารถในงานผลิต งานศิลปหัตถกรรม จนเป็นที่ยอมรับในประเทศไทยและระดับสากล
ความมั่นคงของชาติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงห่วงใยความมั่นคงของชาติและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทุกวิถีทางที่จะช่วยทะนุบำรุงและปกป้องรักประเทศชาติ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทหาร ตำรวจ ราษฎรอาสาสมัคร จนถึงฐานปฏิบัติการ ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่อันตรายเพียงใดก็ตามได้พระราชทานถุงของขวัญประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อพระราชทานกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงของชาติตลอดมา
การสาธารณสุข
ในด้านการสาธารณสุข นอกจากทรงช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยจัด “หน่วยแพทย์พระราชทาน” ตามเสด็จไปรักษาพยาบาลราษฎรในถิ่นทุรกันดารแล้ว ยังทรงช่วยเหลือกลุ่มผู้ประสบภัยธรรมชาติ ทรงช่วยเหลือทหาร ตำรวจ และราษฎรอาสาสมัครตามชายแดน ทรงริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในกรณีที่ทรงพบราษฎรเจ็บป่วยก็จะทรงรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทรงอุปถัมภ์องค์กรการกุศล สมาคม มูลนิธิต่างๆ เป็นจำนวนมาก
การส่งเสริมอนุรักษ์ธรรมชาติ
ด้านการส่งเสริมอนุรักษ์ธรรมชาติ พระทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการป่ารักน้ำ” ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการร่วมกันปลูกป่า หลังจากนั้นยังมีโครงการตามพระราชดำริที่ปรากฏขึ้นเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ อาทิ โครงการสวนสัตว์ป่าเปิดภูเขียวตามพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์และขยายพันธุ์เต่าทะเล โครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า โครงการปลูกป่าเสริมธรรมชาติ โครงการพระราชดำริสวนหาดทรายใหญ่ เป็นต้น
เกร็ดความรู้ :
- ผู้ทรงพระราชอิสริยยศ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต้องทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแผ่นดินก่อนและต้องทรงเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ปัจจุบันด้วย นับได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมราชชนนีในล้นเกล้ารัชกาลที่ 6
- ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่แห่งชาติ เนื่องจากดอกมะลิถือเป็นดอกไม้มงคลของไทยดั้งเดิมเพราะมีสีขาวบริสุทธิ์และมีกลิ่นหอมยาวนานออกดอกได้ตลอดทั้งปี ดอกมะลิเปรียบถึงความรักอันบริสุทธิ์ที่แม่มีต่อลูก และมีอย่างยาวนานตลอดไป เสมือนสีและกลิ่นของดอกมะลิที่ขาวตลอดเวลาและหอมอบอวนตลอดทั้งวันทั้งคืน
ปัจจุบัน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระองค์ มีจำนวนทั้งสิ้น 948 โครงการ แบ่งเป็น 1.โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ 260 โครงการ อาทิ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ, โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ 2.โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม 61 โครงการ อาทิ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด, โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, โครงการป่าสักนวมินทราชินี 3.โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ 499 โครงการ อาทิ โครงการป่ารักน้ำตามพระราชดำริ, โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินชะแนนใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4.โครงการพัฒนาเกษตร 38 โครงการ อาทิ สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยคำ, สถานีเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านกอก-บ้านจูน 5.โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/การสื่อสาร 14 โครงการ อาทิ โครงการลาดยางถนนคันกั้นน้ำบ้านศรีพงัน-ประตูระบายน้ำปลายคลองมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6.โครงการสวัสดิการพัฒนาสังคม/การศึกษา 5 โครงการ อาทิ โครงการหมู่บ้านยามชายแดน ตามพระราชดำริ, โครงการธนาคารอาหารชุมชน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 7.โครงการพัฒนาด้านบูรณาการ/อื่นๆ 71 โครงการ อาทิ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่, โครงการฟื้นฟูอาหารช้างป่า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้ป่วยไข้ได้ทันที
พระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า
“…ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง…”
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจังทรงได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ประจำพระองค์ที่ตามเสด็จฯ ตรวจและรักษาคนไข้ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เมื่อเสด็จ พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการชาวเขา และทรงพบว่าราษฎรที่มารอรับเสด็จป่วยเป็นไข้กันมาก
โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยการบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทาน และอบรมหมอหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุข ภาพอนามัยของราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีอุปสรรคที่ ระบบปกติยากจะดูแลได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราษฎรส่วนใหญ่ มีฐานะยากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การมีคณะแพทย์ พระราชทานออกไปบำบัดรักษา ผู้ป่วยจะทำให้ราษฎรมีโอกาสได้รับ การรักษาอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องเสียทุนทรัพย์ใดๆ และสำหรับการ อบรมหมอหมู่บ้านนั้น จะช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้อง กัน รู้จักวิธีรักษาพยาบาลแบบปัจจุบัน และรู้จักวิธีติดต่อกับ หน่วยราชการ ในกรณีที่เกินขีด ความสามารถที่จะดูแลรักษาตน เองได้อันเป็นการช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งอาจกล่าวสรุปได้ว่า โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน จะแก้ไขปัญหา ในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ทางด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นผลที่ได้รับโดยตรง จะช่วยแก้ ปัญหาการเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพได้ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก จำนวน ราษฎรทั้งหมดหรือเกือบ ทั้งหมด ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในการ บำบัดรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน จะเป็นชาวชนบทที่ยากจน ที่มีอาชีพเป็นเกษตรกร อันเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จากจำนวนตัว เลขที่ปรากฎในแต่ละปี จะมีราษฎรที่เจ็บป่วยจากทุกภาคที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทั้งที่เป็นคนไข้ ในโรงพยาบาลและผู้ที่มาขอรับการตรวจ ตลอดจนถึงการ ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามเสด็จฯ ไปตามหมู่บ้านต่างๆ มีจำนวนมาก มายนับหมื่นนับแสนคน
๒. ทางด้านเศรษฐกิจ การที่ราษฎรเจ็บป่วยจะเป็นปัญหาในการประกอบอาชีพของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ที่จะต้องใช้กำลังภายในการทำงาน ดังนั้น เมื่อได้รับการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพพลามัย ที่ดีแล้วราษฎรเหล่านั้นก็สามารถมีร่างกายที่สามารถต่อ สู้กับงานหนักในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งจะได้ยังผลให้ เศรษฐกิจส่วนรวมของสังคมดีขึ้นอย่างแน่นอน
โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อ ตรวจรักษาราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยไม่คิดมูลค่า และถ้าจำเป็นก็จัดส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม และในท้องถิ่น ต่างๆ ที่ห่างไกลตัวเมืองมาก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนยารักษาโรค ออกทำการตรวจรักษาและพยาบาลราษฎรโดยไม่คิดมูลค้าในท้องถิ่นกันดารในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานประกอบด้วยการบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทาน และการอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล
โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
โครงการตามพระราชประสงค์ หมายถึง โครงการที่ทรงศึกษาปฏิบัติส่วนพระองค์กับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาต่างๆ เมื่อได้ผลดีแล้วจึงทรงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน
โดยโครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์ เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของราษฎรที่นิคม สร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส นิคมนี้มีสถานีอนามัย เพียงแห่งเดียว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดแพทย์ หมุนเวียนเข้าไปบริการตรวจรักษา แพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล นราธิวาส และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ออกไปปฏิบัติการสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง เป็นประจำ
หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
ในปี ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระราชปรารภว่า
"เวลาพระองค์มีปัญหาเกี่ยวกับฟันก็มีทันตแพทย์ดูแลรักษาแล้วเวลาราษฎรที่อยู่ห่างไกล จะมีทันตแพทย์ช่วยรักษาหรือเปล่า"
ในเวลาต่อมา ทรงทราบว่าทันตแพทย์นั้นมีน้อยและมีอยู่ตามโรงพยาบาลประจำจังหวัดเท่านั้น บางจังหวัดก็ไม่มี พระองค์ทรงรับสั่งว่า
"การที่จะให้ราษฎรที่ยากจนที่มีปัญหาเรื่องฟัน หยุดการทำนาทำไร่ เดินทางไปหาแพทย์นั้น เป็นสิ่งที่ยากยิ่ง ในทางตรงกันข้าม หากเป็นการให้บริการเคลื่อนที่ไปสู่ประชาชน ก็จะเป็นการแก้ปัญหาได้ทางหนึ่ง"
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตรัสแก่ทันตแพทย์สีสิริสิงห์ทันตแพทย์ประจำพระองค์ว่า
"ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแลบำบัดทุกข์ให้แก่นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นกันดารห่างไกล หมอและจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดตามความจำเป็นโดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปโดยรถยนต์และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้าน ที่อยู่ ห่างไกล ชนบท"
หน่วยทันตกรรมพระราชทานจึงก่อกำเนิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วน พระองค์ จัดซื้อรถยนต์ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือทำฟัน มีทันตแพทย์อาสาออก ปฏิบัติงานโดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๒ โดยมี ทันตแพทย์ สี สิริสิงห์ เป็นหัวหน้าทีม เพื่อส่งทันตแพทย์อาสาสมัครออกช่วยเหลือ บำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันแก่เด็ก นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องที่ทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า ได้รับความ ร่วมมือจากทันตแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ ในการออกปฏิบัติการภาคสนาม
โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราช ประสงค์ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ แพทย์ ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์มาก เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จแปรพระราชฐาน ประทับที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล และความต้องการของโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ในด้านศัลยกรรม และ รวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น ภายหลังพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ เปลี่ยนชื่อเป็น ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื่องจากมีราษฎรเป็นจำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคหู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้ ซึ่งจำเป็นต้องรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเหล่านี้ จึงโปรกเกล้าฯให้จัดหน่วยแพทย์อาสาสมัครในโรคดังกล่าว ผลัดดันออกไปปฏิบัติหน้าที่ประจำโรงพยาบาลประจำจังหวัด ที่เสด็จแปรพระราชฐานโดย อาศัยแพทย์หู คอ จมูกอาสาสมัครจาก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติราชการชุดละ ๒ สัปดาห์เริ่มที่จังหวัดนราธิวาสก่อน ต่อมาขยายการปฏิบัติงานไปที่จังหวัดสกนนคร และที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่
โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
ความเจ็บป่วยของราษฎรเกิดจากการไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง ประกอบกับไม่มีสถานพยาบาลอยู่ใกล้ บ้างก็เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะจึงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์โดยคัดเลือกคนในหมู่บ้านรับการฝึกอบรม การรักษาพยาบาลเบื้อต้น การรักษาโรคอย่างง่าย เพื่อสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมหมู่บ้านได้ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เริ่มบรรเทาความเจ็บปวดของราษฎรที่นิคม สร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ด้วยนิคมนี้มีสถานีอนามัยเพียงแห่งเดียว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดแพทย์ หมุนเวียนเข้าไปบริการตรวจรักษา แพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล นราธิวาส และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ออกไปปฏิบัติการสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง เป็นประจำ
โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัย
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราช ประสงค์ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ แพทย์ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์มาก เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จแปรพระราชฐาน ประทับที่ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล และความต้องการของโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ในด้านศัลยกรรม และ รวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ เปลี่ยนชื่อเป็น ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
“…จึง ใคร่ขอร้องให้ทุกๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริงๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย…”
นับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของการแพทย์ชนบท ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป
ข้อมูลอ้างอิง
- https://www.cdti.ac.th
- https://th.wikipedia.org/wiki
- http://royal-project.maehongson.go.th/index.php/th/royal-duties/item/113-2539-03-27.html
- https://phcjc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/12137/iid/255884
- https://www.thansettakij.com/general-news/406945
- http://www.rdpb.go.th/th/Project
- http://projects.rdpb.go.th/projects/5299185981063168/single
- https://www.iotopsakon.com
- http://royal-project.maehongson.go.th/index.php/th/royal-duties/3/item/196-2547-02-06.html
- https://www.ldd.go.th/web_kingproject/Project/Queen/7-004.pdf